สาเหตุ
1.เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด เอ ทำให้เกิดโรคไวรัสตับอักเสบชนิด เอ ติดต่อทางเดินระบบ
ทางเดินอาหารโดยการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคดังนั้น จึงทำให้เกิด
การแพร่กระจายของโรคได้ง่าย
2.เชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ทำให้เกิดโรคไวรัสตับอักเสบชนิด บี เชื้อนี้จะมีอยู่ในเลือด น้ำนม
น้ำลาย น้ำตา น้ำปัสสาวะ เชื้ออสุจิ เป็นต้น ติดต่อทางบาดแผลทางเพศสัมพันธ์หรือ การถ่าย
จากแม่ไปยังทารกขณะคลอดหรือหลังคลอดใหม่ๆ นอกจากนี้ยังติดต่อทางเลือดเช่น การให้
เลือด การฉีดยา (กรณีใช้เข็มร่วมกัน) การสักตามร่างกาย
3.ไวรัสไม่ใช่ทั้งเอและบี ติดต่อโดยทางเลือดและการสัมผัสเช่นเดียวกับชนิดบี โดย
การกินเช่นเดียวกับชนิดเอ
อาการ
1.ระยะนำ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เป็นไข้ ตับโต และคอเจ็บ
2.ระยะตาเหลือง มีอาการตาเหลือง น้ำหนักลด ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
3.ระยะฟื้นตัว หลังจากหายตาเหลืองแล้วจะรู้สึกสบายขึ้นแต่ยังอาจรู้สึกเหนื่อย บางรายอาจ
ไม่แสดงอาการตาเหลืองที่เรียกว่า ดีซาน แต่จะมีอาการอ่อนเพลียคล้ายไข้หวัดใหญ่ หรือ
ปวดเสียดชายโครงด้านขวา ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน
อาการแทรกซ้อน
ไวรัสตับอักเสบส่วนมากมักจะหายเป็นปกติโดยไม่มีอาการแทรกซ้อน โดยเฉพาะ
ถ้าเป็นตับอักเสบชนิดเอโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย อาจทำให้ถึงแก่ชีวิต (พบได้น้อยมาก)
ได้แก่ ตับอักเสบชนิดร้ายแรง ซึ่งเซลล์ของตับถูกทำลายเกือบหมด จะมีอาการตาเหลืองบวม
และหมดสติประมาณ 10% ของผู้ที่เป็นตับอักเสบชนิดบี อาจกลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง
ซึ่งจะมีอาการอ่อนเพลียและตาเหลือง นานกว่า 6 เดือน ถ้าเป็นชนิดคงที่อาการจะไม่รุนแรง
และมักจะหายเป็นปกติภายในเวลา 1-2 ปี แต่ถ้าเป็นชนิดลุกลาม อาจเป็นโรคตับแข็งได้
การรักษา
1.รักษาตามอาการ
1.1 พักผ่อนให้เพียงพอ ห้ามทำงานหนักจนกว่าจะรู้สึกหายเพลีย
1.2 ดื่มน้ำมากๆ (ในกรณีที่ไม่ขัดกับโรคอื่นๆ)
1.3 รับประทานอาหารประเภทแป้ง น้ำตาลและอาหารประเภทโปรตีนให้มากขึ้น
1.4 ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาเพราะเป็นโรคที่เกิดจากไวรัสไม่มียารักษาโดยเฉพาะ
2.ถ้ามีอาการตาเหลือง
มีไข้สูง อ่อนเพลียมาก น้ำหนักลดมาก ปวดท้องมากหรืออาเจียนมาก ควรพบแพทย์
เพื่อตรวจรักษา
3.การติดตามผล
อาจต้องเจอเลือดตรวจเป็นระยะๆ อย่างน้อยทุก 6-7 เดือน แต่ถ้าเป็นมากอาจต้อง
เจาะเลือดตรวจ ทุก 2-4 สัปดาห์
ข้อแนะนำ
1.ห้ามดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพราะอาจทำให้มีอาการเรื้อรังหรือกำเริบใหม่ได้
2.ห้ามใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
3.ระหว่างที่เป็นโรคควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจมีพิษต่อตับ เช่น พาราเซตามอล
เตตราไซคลีน ไอเอ็นเอช อีรีโทรมัยซิน และยาคุมกำเนิด เป็นต้น
4.ควรล้างมือให้สะอาดหลังถ่ายอุจจาระทุกครั้ง ทั้งควรแยกสำรับกับข้าวและเครื่องใช้ส่วนตัว
ออกจากผู้อื่น
5.พักผ่อนให้เพียงพอ
6.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำมากๆ
7.ออกกำลังกายแต่พอควรไม่หักโหมจนเกินไป
8.ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคหรือเป็นพาหะนำโรคตับอักเสบชนิดบี ควรตรวจเลือด
ถ้ายังไม่มีภูมิคุ้มกัน ควรฉีดวัคซีนป้องกัน